Table of Contents
ทำความเข้าใจตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ
ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจคือสถิติที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ แบ่งออกเป็นสามประเภทหลัก ได้แก่
- ตัวชี้วัดนำหน้า (Leading Indicators) คือสิ่งที่ช่วยคาดการณ์กิจกรรมทางเศรษฐกิจในอนาคต ตัวอย่างเช่น ตลาดหุ้น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ซึ่งใช้ทำนายการเติบโตของเศรษฐกิจได้ เช่น ในปี พ.ศ. 2564 การลดลงของ PMI ก่อนการระบาดของโควิด-19 ได้บ่งบอกล่วงหน้าถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจ
- ตัวชี้วัดตามหลัง (Lagging Indicators) คือสิ่งที่ช่วยสะท้อนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังจากเศรษฐกิจปรับตัว เช่น อัตราการว่างงาน ซึ่งเพิ่มขึ้นหลังจากเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว ตัวอย่างเช่น อัตราการว่างงานในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2551 – 2552 หลังจากวิกฤตการเงินโลก
- ตัวชี้วัดพร้อมกัน (Coincident Indicators) คือสิ่งที่ช่วยให้ข้อมูลสถานะของเศรษฐกิจแบบเรียลไทม์ เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ซึ่งสะท้อนการเติบโตทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน
ตัวชี้วัดเศรษฐกิจที่สำคัญ และผลกระทบที่มีต่อตลาด
- อัตราการเติบโตของ GDP คือสิ่งบ่งชี้สุขภาพโดยรวมของเศรษฐกิจ การเพิ่มขึ้นของ GDP มักส่งผลบวกต่อหุ้น ตัวอย่างเช่น การเติบโตของ GDP สหรัฐอเมริกาที่สูงเกินคาดในไตรมาสที่สามของปี พ.ศ. 2564 ส่งผลให้ตลาดหุ้นพุ่งสูงขึ้น
- อัตราเงินเฟ้อ (CPI และ PPI) คือสิ่งบ่งบอกราคาสินค้า และบริการที่ผู้บริโภคต้องจ่าย มีผลต่อการดำเนินนโยบายของธนาคารกลาง ตัวอย่างเช่น อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในปี พ.ศ. 2565 ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ
- อัตราการว่างงาน มีผลต่อความมั่นใจ และการใช้จ่ายของผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น อัตราการว่างงานต่ำในปี พ.ศ. 2562 ช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภค และสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ
- อัตราดอกเบี้ย มีบทบาทสำคัญในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน และการไหลเวียนของเงินทุนระหว่างประเทศ
การประยุกต์ใช้ตัวชี้วัดเศรษฐกิจในการเทรด
เทรดเดอร์สามารถใช้ตัวชี้วัดเหล่านี้เพื่อประเมินอารมณ์ของตลาด และการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น การเติบโตอย่างรวดเร็วของ GDP อาจนำไปสู่ภาวะตลาดหุ้นขาขึ้น ในทางกลับกัน อัตราเงินเฟ้อสูงอาจทำให้ธนาคารกลางขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่งผลเสียต่อราคาพันธบัตร และหุ้น
แล้วเทรดเดอร์ควรทำอย่างไรล่ะ
- อัปเดตข้อมูล โดยใช้ปฏิทินเศรษฐกิจ และแพลตฟอร์มข่าวสารทางการเงินเพื่อติดตามการประกาศตัวเลขสำคัญ เช่น ทางเว็บไซต์ Trading Economics และ Investing.com มีข้อมูลอัปเดตที่เป็นประโยชน์
- รวมการวิเคราะห์ตัวชี้วัดหลายตัว เพราะการรวมข้อมูลจากหลายแหล่ง เช่น Bloomberg และ Reuters จะช่วยให้วิเคราะห์ได้ครอบคลุม มองเห็นภาพรวมของตลาด และเศรษฐกิจมากขึ้น
- ใช้เทคโนโลยี ระบบการซื้อขายอัตโนมัติช่วยให้เทรดเดอร์เข้าซื้อขายได้รวดเร็ว และแม่นยำ ใช้แพลตฟอร์มอย่าง MetaTrader เพื่อช่วยตัดสินใจ
สรุปแล้วตัวชี้วัดเศรษฐกิจช่วยเทรดเดอร์อย่างไรบ้าง
ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เทรดเดอร์ เข้าใจแนวโน้มของตลาด และตัดสินใจอย่างมีข้อมูล รวมทั้งสามารถปรับปรุงกระบวนการตัดสินใจ และบรรลุผลลัพธ์ที่ดีขึ้นในการซื้อขายได้ด้วยการใช้ตัวชี้วัดเหล่านี้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าคุณจะเป็นเทรดเดอร์มืออาชีพหรือเพิ่งเริ่มต้น ที่ Exness เรามีเครื่องมือ และทรัพยากรที่คุณต้องการเพื่อให้คุณตัดสินใจเทรดอย่างมีข้อมูล แพลตฟอร์มของเราเข้าถึงทั้งปฏิทินเศรษฐกิจ ข่าวสารการเงิน และระบบการซื้อขายอัตโนมัติ ซึ่งช่วยให้คุณก้าวล้ำนำหน้าตลาดได้
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :
การซื้อขายวงใน ในฟอเร็กซ์ คืออะไร ?