โบรกเกอร์ Forex คือ ตัวกลางซื้อขาย มี 2 ประเภทหลัก: Dealing Desk (Market Maker) ให้ราคาภายในเอง และ No Dealing Desk (ECN/STP) เชื่อมตลาดจริง
โบรกเกอร์ Forex คือ ตัวกลางซื้อขาย มี 2 ประเภทหลัก: Dealing Desk (Market Maker) ให้ราคาภายในเอง และ No Dealing Desk (ECN/STP) เชื่อมตลาดจริง
บทความ Forex ที่น่ารู้วันนี้ “โบรเกอร์ Forex คืออะไร” โบรกเกอร์ Forex เป็นเสมือนนายหน้าที่ให้บริการซื้อขาย Forex โดยโบรกเกอร์นั้นจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่คอยรวบรวมคำสั่งซื้อขายแล้วส่งไปยังตลาดกลางอีกที ซึ่งนักลงทุนหรือเทรดเดอร์ทุกคนหากจะทำการเทรด Forex ก็จะต้องทำการซื้อขายผ่านทางโบรกเกอร์เท่านั้นไม่สามารถซื้อขายโดยตรงกับตลาดกลางได้
เทรดเดอร์จะไม่สามารถเทรดโดยตรงกับ Forex Markets ได้ จำต้องส่งคำสั่งผ่าน โบรกเกอร์ เช่นที่ exness.com, fbs.com หรือ xm.com เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น โบรกเกอร์ A ได้รับราคาคู่สกุลเงิน EUR/USD มาจากตลาดกลางที่ราคา 1.20020 แต่เมื่อเราจะกด Buy เพื่อทำการซื้อเราก็จะได้มาในราคา 1.20040 แทน เป็นต้น นั้นหมายความว่าเมื่อเรากดซื้อเราจะขาดทุนทันที 20 จุด ทั้งนี้ทั้งนั้นส่วนต่างของราคาขึ้นอยู่กับแต่ละโบรกเกอร์และประเภทบัญชีเทรดด้วย ซึ่งบางประเภทบัญชีเทรดก็อาจจะไม่มีค่าส่วนต่างของราคาแต่ต้องมาเสียค่าคอมมิชชันให้กับทางโบรกเกอร์แทน ซึ่งโบรกเกอร์ Forex แบ่งได้เป็นสองประเภทคือ Non Dealing Desk (NDD) และ Dealing Desk (DD)
หลังจากรู้ความหมายของคำว่า โบรกเกอร์ Forex คืออะไร แล้ว เราจะไปดูกันว่า โบรกเกอร์ Forex นั่นมีกี่ประเภทอะไรบ้าง เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ดูเปรียบเทียบถึงข้อดีและข้อเสียได้จากด้านล่างนี้
รีวิวโบรกเกอร์ Forex อัพเดท 2024
โบรกเกอร์ Dealing Desk (DD) นี้ก็จะเป็นโบรกเกอร์ที่ทำการเก็บออเดอร์เอาใว้มาจับคู่กันเอง ไม่ส่งคำสั่งไปที่ตลาดกลาง ซึ่งปัญหาของโบรกเกอร์ประเภทนี้คือความเสี่ยงในช่วงที่กราฟผันผวนสูงๆ จนทำให้ทางโบรกเกอร์นั้นจับคู่คำสั่งซื้อกับคำสั่งขายไม่ทันส่งผลให้เวลาที่เราจะกดเปิด-ปิด ออเดอร์ก็มักจะมีการปฏิเสธคำสั่งซื้อขายของเราหรือเกิดรีโควตนั่นเอง อีกทั้งหากมีความผันผวนสูงมากแล้วกราฟดันวิ่งไปในทิศทางเดียวกันกับทิศทางที่มีเทรดเดอร์ส่วนใหญ่ซื้อ ก็อาจจะทำให้ทางโบรกเกอร์นั้นเกิดการขาดทุนอย่างหนักจนอาจถึงขึ้นล้มละลายได้เลยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น วิกฤติ SNB ในปี 2558 ที่ผ่านมาที่ทำให้โบรกเกอร์ทั่วโลกกว่า 10 แห่งนั้นต้องล้มละลายกันเลยทีเดียว
โบรกเกอร์ Non Dealing Desk (NDD) ประเภทนี้จะเป็นโบรกเกอร์ที่ส่งคำสั่งซื้อขายไปยังตลาดกลางโดยตรง จะไม่ทำการเก็บออเดอร์เอาใว้เอง ข้อดีคือเราจะได้ซื้อขายในราคาเดียวกับตลาดกลางเลย และ ทางโบรกเกอร์เองก็จะลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาไปได้พอสมควรทำให้โบรกเกอร์แบบแรกนี้ก็จะดูมีความน่าเชื่อถือมากกว่า อีกทั้งการส่งคำสั่งซื้อขายของเราก็จะมีความรวดเร็วมากกว่าเนื่องจากทางโบรกเกอร์นั้นส่งคำสั่งไปที่ตลาดกลางโดยตรงจึงทำให้มีสภาพคล่องที่สูง
โบรกเกอร์ประเภท No Dealing Desk (NDD) สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท ประกอบด้วย
ปัจจุบันโบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ ส่วนใหญ่ในตลาดทั่วโลก นิยมใช้ระบบแบบผสมผสานทั้งแบบ DD และ NDD โดยเลือกใช้ระบบที่เหมาะสมกับประเภทลูกค้า เช่น หากเป็นลูกค้ารายใหญ่จะส่งเข้าสู่ตลาดโดยตรง ลูกรายย่อยเลือกจับคู่ภายในโบรกเกอร์หรือรับไว้เอง
โบรกเกอร์ Dealing Desk (DD) นี้ก็จะเป็นโบรกเกอร์ที่ทำการเก็บออเดอร์เอาใว้มาจับคู่กันเอง ไม่ส่งคำสั่งไปที่ตลาดกลาง
ข้อดี
ข้อเสีย
โบรกเกอร์ Non Dealing Desk (NDD) ประเภทนี้จะเป็นโบรกเกอร์ที่ส่งคำสั่งซื้อขายไปยังตลาดกลางโดยตรง จะไม่ทำการเก็บออเดอร์เอาใว้เอง
ข้อดี
ข้อเสีย
โบรกเกอร์ Forex คืออะไร เป็นเสมือนนายหน้าผู้ที่ให้บริการซื้อขายในตลาด Forex (แลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ) โดยโบรกเกอร์นั้นจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่คอยรวบรวมคำสั่งซื้อขายจากเหล่าบรรดาเทรดเดอร์ที่เปิดบัญชีเทรด Forex ผ่านโบรกเกอร์ แล้วส่งไปยังตลาดกลาง ซึ่งโบรกเกอร์ Forex แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ Non Dealing Desk (NDD) และ Dealing Desk (DD)