Table of Contents
Time Frame คือกรอบเวลาที่เทรดเดอร์จะใช้ในการวิเคราะห์กราฟราคา สำหรับเทรดเดอร์มือใหม่หลายคนอาจจะเข้าใจว่า Time Frame ที่ดีที่สุดคือ Time Frame 15 นาที / 1 ชั่วโมง / 4 ชั่วโมง แต่สำหรับในบทความความนี้จะไม่ได้พูดถึง Time Frame เพียงแค่บริบทนั้น เราจะขอพาไปเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการวิเคราะห์กราฟราคาด้วย TimeFrame ที่แตกต่างกัน ซึ่งมีด้วยกัน 3 Time Frame และ ไม่อยากให้เทรดเดอร์มือใหม่พลาด เพราะนี่อาจเป็นการปูทางไปสู่การเป็นเทรดเดอร์มืออาชีพได้เลยทีเดียว
Time Frame 3 ช่วงเวลาที่เทรดเดอร์ต้องรู้
เริ่มจาก TimeFrame ที่กว้างที่สุดแล้วค่อย ๆ สโคปไปที่ช่วงกลาง ๆ จนถึง TimeFrame ที่สั้นที่สุด ตรงนี้จะทำให้เห็นภาพรวม และ ทำให้เทรดเดอร์ทำการเทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Macro
Macro คือการดูภาพรวมของกราฟราคาว่าจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางใด เป็น TimeFrame ที่กว้างที่สุดที่เทรดเดอร์จะใช้ในการวิเคราะห์
Micro
Micro คือการย่อ TimeFrame จาก Macro ให้สั้นลงมา ซึ่งจะช่วยทำให้วิเคราะห์กราฟราคาได้แม่นยำยิ่งขึ้น
Entry / Confirmation
Entry คือการหาจุดเข้าที่มีประสิทธิภาพที่สุด โดยการย่อ TimeFrame ให้สั้นที่สุด ซึ่งจะทำให้เทรดเดอร์มองเห็นการเคลื่อนไหวของกราฟราคาที่ดีที่สุด
เทรดเดอร์สายไหน? เหมาะกับ TimeFrame ขนาดใด ?
การใช้ TimeFrame เพื่อนำมาวิเคราะห์ทิศทางของกราฟราคานั้น เทรดเดอร์จำเป็นต้องชัดเจนด้วยว่าตัวเองนั้นเป็นเทรดเดอร์สไตล์ใด หรือ บางคนอาจจะเรียนรู้ หรือ ค้นหาสไตล์ที่เหมาะกับตัวเองอยู่ ซึ่งอาจจะทำให้กำลังเทรดมากกว่าหนึ่งสไตล์ก็ขอให้ดูตามตารางนี้
โดยวิธีการก็คือสำรวจตัวเองว่ากำลังใช้ TimeFrame ขนาดใดเทรดอยู่ในตอนนี้ ยกตัวอย่างเช่น เทรดเดอร์กำลังใช้ TimeFrame 1 ชั่วโมงในการเทรดอยู่ ดังนั้น Entry ก็คือ 1 ชั่วโมง ส่วน TimeFrame ที่ยาวขึ้น หรือ Micro ก็จะเป็น 4 ชั่วโมง ส่วน TimeFrame ที่ยาวที่สุด หรือ Macro ก็จะเป็น Daily หรือ TimeFrame รายวันนั่นเอง นั่นหมายความว่าเป็นเทรดเดอร์สไตล์ Intraday Trade
เลือกสไตล์ให้เหมาะกับ TimeFrame ที่ใช้ในการเทรด
การเลือก TimeFrame ให้เหมาะสมกับสไตล์ที่จะใช้ในการเทรดก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญ เช่น หากเทรดเดอร์คิดว่าจะเป็น Swing Trader แต่ไปใช้ TimeFrame 4 ชั่วโมงแล้วรู้สึกว่ายาวนานเกินไป ก็สามารถไปใช้ TimeFrame 1 ชั่วโมงก็ได้ โดยสามารถไปเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Swing Trader ได้ในบทความเทรดเดอร์ 2 สไตล์ในวงการฟอเร็กซ์: Day Trader VS Swing Trader
วิเคราะห์กราฟราคาด้วย TimeFrame ทั้ง 3 แบบ
เทรดเดอร์สามารถใช้ TimeFrame ในการวิเคราะห์ทิศทางของกราฟราคาได้ด้วยขั้นตอนดังนี้
1. ดู Macro TimeFrame
เทรดเดอร์ควรมองจากภาพกว้างก่อนนั่นก็คือ TimeFrame ที่ยาวที่สุด หรือ Macro นั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น เทรดเดอร์ทำการเทรดที่ TimeFrame 1 ชั่วโมง ดังนั้น Entry ก็คือ 1 ชั่วโมง เพราะฉะนั้น Macro ก็คือกราฟรายวัน ขั้นตอนแรกก็คือเปิดกราฟรายวันขึ้นมาดังตัวอย่างด้านล่าง (ตัวอย่างเป็นกราฟสองวัน)
ไฮไลท์สีแดง และ สีเทาคือระดับโซนที่ใช้ในการวิเคราะห์ โดยจะไม่วิเคราะห์ย้อนหลังไปไกลมาก จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าราคากำลังอยู่ในแนวโน้มขาลง
2. เปลี่ยนเป็น TimeFrame ที่สั้นลง
ย่อลงจากรายวันให้เป็น TimeFrame 4 ชั่วโมง ดังตัวอย่างด้านล่าง
จากภาพจะเห็นได้ว่าไฮไลท์สีเทาจะเป็นแนวต้าน หากลากยาวไปกว่านี้อีกก็จะเห็นได้ว่าก็ยังเป็นแนวต้าน ตอนนี้ราคาอยู่ข้างล่าง ส่วนแนวต้านนั้นอยู่ข้างบน ก็ให้รอดูสัญญาณ Confirm แต่ตอนนี้จะยังไม่เปลี่ยน TimeFrame เพราะว่ายังไม่มีนัยสำคัญอะไรที่จะเทรด ดังนั้นควรรอจังหวะตรงนี้ก่อน ก็คือรอดูว่าราคาจะขึ้นมา หรือไม่ เพราะดูเหมือนว่าจะมีการปรับตัวขึ้น
จากภาพตัวอย่างด้านบนจะเห็นได้ว่าราคามีการปรับตัวขึ้นมาชนแนวต้านแล้ว ก็รอดูว่าเมื่อราคาขึ้นมาชนแนวต้านแล้วจะเกิดปฏิกิริยาอะไรเกิดขึ้น หรือไม่ ซึ่งก็ได้มีแท่งยาวสีแดงเกิดขึ้นดังภาพตัวอย่างด้านล่าง
3. ย่อ TimeFrame ให้สั้นลงอีกครั้ง
จากภาพตัวอย่างที่เห็นว่ามีแท่งยาวสีแดงเกิดขึ้น ทำให้มีนัยสำคัญว่าราคาจะกลับตัว หรือไม่ ย่อ TimeFrame ให้เหลือ 1 ชั่วโมงได้เลยดังภาพตัวอย่างด้านล่าง
จะเห็นได้ว่าตอนนี้เป็นจุดที่น่าสนใจเลย ซึ่งเป็นจุดที่เทรดเดอร์สามารถที่จะเปิด Order Sell ได้เลย เพราะราคานั้นมีการไปชนแนวต้าน และ มีการย่อตัวลง ทำการ Stop Loss ไว้บนแนวต้านเดิม คราวนี้ก็สามารถเปิด Order Sell ได้แล้ว ดังภาพตัวอย่างโซนสีแดงคือ Stop Loss ส่วนโซนสีเขียวคือ Take Profit ซึ่งหลังจากนั้นราคาก็มีการขึ้นไป Take Profit ดังภาพตัวอย่างด้านล่าง
จะเห็นได้ว่าราคาก็มีการร่วงลงมาในโซนสีเขียว ซึ่งนั่นสามารถทำให้เทรดเดอร์ทำกำไรได้แล้ว
บทสรุป
และ นี่ก็เป็นการวิเคราะห์กราฟราคาด้วย TimeFrame แต่ในการเทรดยังมีเทคนิคอื่น ๆ อีก ซึ่งเทรดเดอร์สามารถนำมาประยุคใช้ร่วมกับการวิเคราะห์กราฟด้วย 3 TimeFrame นี้ได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเทรดให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งถ้าหากใครที่ต้องการเรียนรู้เทคนิคให้ครบรอบด้านก็สามารถเข้าไปได้ที่คอร์ส START TO TRADE ที่จะทำให้เทรดเดอร์ได้รู้จักเทคนิค และ กลยุทธ์การเทรดต่าง ๆ ได้เรียนรู้ขั้นพื้นฐานอย่างละเอียดเพื่อที่จะต่อยอดไปยังกลยุทธ์การเทรดขั้นสูง
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :
Flag pattern forex คืออะไร อธิบายง่าย ๆ สำหรับมือใหม่เริ่มเทรด